ชุดทดสอบยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ / สั่งซื้อร่วงหน้า 15 วัน

-หลักการ
การใช้ยาเพื่อควบคุมและรักษาโรคในสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่ หมู วัว ควาย กุ้ง และปลา เป็นต้น อาหารเหล่านี้จำเป็นสำหรับผู้บริโภคในการเจริญเติบโตและเนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศส่งออกสินค้าอาหาร โดยเฉพาะกุ้ง และไก่ โดยแต่ละปีสินค้าอาหารเหล่านี้ นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากแต่มักพบว่ามีปัญหาในเรื่องยาตกค้างในอาหารดังกล่าว ทั้งที่จำหน่ายในประเทศ และส่งออก ส่งผลกับเศรษกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในระดับหนึ่ง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ศึกษาและพัฒนาชุดทดสอบยาตกค้างในนมและ ผลิตภัณฑ์นม เพื่อนำมาตรวจสอบยาตกค้างในอาหารประเถทเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ผู้ผลิตสามารถนำไปตรวจสอบได้เองไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบดีเป็นที่น่าเชื่อถือได้
ผลกระทบต่อสุขภาพ
การบริโภคเนื้อและเครื่องในสัตว์ที่มียาตกค้างเป็นประจำก่อให้เกิดการดื้อยาการแพ้ยาในผู้บริโภค

ตัวอย่างเป้าหมาย
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้ง ไก่ หมู วัว ปลา
- เครื่องในของ หมู ไก่ และวัว

จำนวนชุดทดสอบ/กล่อง 50 หลอด อายุการใช้งาน นับจากวันที่ผลิต 3 เดือน
อุปกรณ์ชุดทดสอบ
- หลอดทดสอบสำเร็จรูป 50 หลอด
- หลอดหยดพลาสติก 10 หลอด
- อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการจรวจ 1. อ้างน้ำร้อน / ตู้บ่มเพาะเชื้อ (ควบคุมอุณหภูมิ 64 +/- 2 'C)
- น้ำยาสกัด A,B และ C (เลือกใช้น้ำยาสกัด ตามชนิดของยาตกค้างที่จะตรวจสอบ)

การเก็บและเตรียมตัวอย่างเนื้อสัตว์
1. สุ่มตัวอย่างเนื้อสัตว์หรือเครื่องในที่บดละเอียดแล้ว 5 กรัม ใส่ใน centrifuge tube ขนาด 30 มิลลิลิตร(มล)
1 หลอด หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับชนิดของยาตกค้าง ที่จะตรวจสอบ

2. เติมน้ำยาสกัด A (กลุ่ม tetracycline) สำหรับ กุ้ง และปลา
ส่วน ไก่ หมู วัว เครื่องในสัวต์ ดังกล่าวเติมทั้งน้ำยาสกัด A (กลุ่ม tetracycline),น้ำยาสกัด B(กลุ่ม macrolide,
aminoglycoside และกลุ่ม sulfonamide)
และน้ำยาสกัด C (กลุ่ม penicillin) อย่างละ 5 มล.

3. เขย่าอย่างแรงด้วยมือหรือเครื่องเขย่า 10 นาที แล้วนำไปให้ความร้อนใน water bath ที่อุณหภูมิ 60 'C
จับเวลา 5 นาที และทำให้ตัวอย่างเย็นลงโดยเร็ว

4. Centrifuge ที่ 3000 - 4000 รอบ นาน 15 นาทีได้ส่วนใสของตัวอย่าง

5. ปรับ pH ของส่วนใส (ไก่ หมู วัวและปลา ยกเว้นกุ้ง) สำหรับนำไปทดสอบ

5.1 การตรวจสอบยาตกค้างกลุ่ม tetracycline : ปรับ pH ส่วนใสให้ได้ 6.5 ดังนี้
----> ไก่ ปลา : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 6.1ปริมาตร 3.75 มล.
---> หมู วัว : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 5.8 ปริมาตร 2.0 มล.
แต่ถ้า pH เริ้มต้น 5.5 หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใส ปริมาตร 1.5 มล.

5.2 การตรวจสอบยาตกค้างกลุ่ม penicillin : ปรับ pH ส่วนใสของตัวอย่างให้ได้ 6.5 ดังนี้
----> ไก่ ปลา : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 6.1ปริมาตร5.0 มล.
---> หมู วัว : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 5.8 ปริมาตร 2.0 มล.

5.3 การตรวจสอบยาตกค้างกลุ่ม macrolide, aminoglycoside และกลุ่ม sulfonamide : ปรับ pH ส่วนใสให้ได้
7.0 ดังนี้
----> ไก่ ปลา : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 6.5ปริมาตร 3.75 มล.
---> หมู วัว : หยด 1 N NaOH 1 หยด (33ul) ลงในส่วนใสซึ่งมี pH - 6.1 ปริมาตร1.5 มล.

6. ปรับ pH ตัวอย่างควบคุมที่ไม่มียาตกค้าง (negative control sample) ตามขั้นตอน ข้อ 5.1-5.3 เพื่อทดสอบ
เปรียบเทียบตัวอย่าง

7. กรณี pH ตั้งต้นของตัวอย่างมี pH ตามที่ระบุใน ข้อ 5.1, 5.2 และ 5.3 ไม่ต้องปรับ pH

วิธีการตรวจสอบ

1. หยดตัวอย่างเนื้อสัตว์ที่สกัดแล้วตามกลุ่มยาที่ต้องการตรวจสอบด้วย dropper 4 หยด (ไม่ให้มีฟองอากาศ)
ลงในแต่ละชุดทดสอบสอบ ในกรณีที่ต้องการตรวจหายากลุ่ม sulfonamide ให้ใช้ชุดทดสอบที่มี สาร trimetoprim

2. หยด 4 หยด ของ negative control sample ลงใน หลอดทดสอบ 1 หลอด
3. นำชุดทดสอบตามข้อ1 และ 2 ไปบ่มเพาะเชื้อใน water bath/incubator ทีอุณหภูมิ 64 +- 2'C เวลา
มากกว่าไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาทีสำหรับกุ้งและปลา
ส่วน ไก่ หมูและวัว ใช้เวลา มากกว่าไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 45 นาที หรืออ่านผลตามที่ระบุบนภาชนะบรรจุ
โดยให้อาหารเลี้ยงเชื้อในหลอดอยู่ใต้ระดับน้ำ จนกระทั้งหลอด negative control sample เปลี่ยนสีจากสีม่วง
เป็นสีเหลืองทั้งหลอด จึงสังเกตุสีของหลอดตัวอย่าง ดังนั้นเวลาในการอ่านผลตัวอย่างทดสอบจะขึ้นกับ
ืำnegative control sample

การอ่านและการแปลผล
1.
ชุดทดสอบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งหลอด บ่งชี้ว่าไม่พบยาตกค้าง

2. ชุดทดสอบเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง สีม่วง-เหลืองหรือ สีม่วงทั้งหลอด โดยแถบสีขึ้นกับปริมาณของยาตกค้าง

ประสิทธิภาพของชุดทดสอบ
...........ชุดทดสอบนี้มีความถูกต้อง 93.0 % ความไว 78.9 % ความจำเพาะ 96.7 % และสามารถตรวจสอบยาตกค้างได้
อย่างน้อย 12 ชนิด โดยสามารถตรวจสอบปริมาณค่าต่ำสุดของยาตกค้างในระดับที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล
ได้แก่ เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน เตตร้าซัยคลิน อ็อกซี่เตตร้าซัยคลิน คลอเตตร้าซัยคลิน เจนต้าไมซิน นีโอมัยซิน
สเตร็ปโตมัยซิน ซัลฟาไดเมทท็อกซิน ไทโรซิน อิริโธมัยซิน และบาซิตราซิน

การเก็บตัวอย่าง / อายุการใช้งาน
...... เก็บชุดทดสอบที่อุณหภูมิแช่เย็น ประมาณ 4 - 8 'C นาน 3 เดือน ยกเว้น ชุดทดสอบสำหรับตรวจสอบสารต้านจุลชีพ
กลุ่ม ซัลโฟนาไมด์ เก็บไม่เกิน 20 วัน

การปฏิบัติเมื่อทดสอบแล้ว
...... เทน้ำยาฆ่าเชื้อลงในหลอดให้ท่วมอาหารเลี้ยงเชื้อ ทิ้งไว้ 30 นาที หรือต้มหลอดทดสอบที่เปิดฝา ในน้ำเดือด
นาน 15 นาที หรือฆ่าเชื้อโดยใช้ autoclave แล้วทิ้งหลอด


-ประโยชน์ของชุดทดสอบใช้ในการตรวจวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์และเครื่องใน ให้ผลรวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง 30 นาที การตรวจวิเคราะห์สะดวกไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ มีราคาแพง ประเทศพึ่งตนเองได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อการส่งออก

หมายเหตุ วิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบ                 ที่แนบไปพร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง