ชุดทดสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในนมและยาต้านจุลชีพในนมและผลิตภัณฑ์นม / สั่งซื้อร่วงหน้า 15วัน

-หลักการ
    การให้ยาเพื่อควบคุมและรักษาโรคในสัตว์ประเภท วัว ควาย ก่อให้เกิดปัญหาการตกค้าง ของยาในเนื้อเยื่อและน้ำนมของสัตว์ โดยเฉพาะในน้ำนมซึ่งเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับ ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย การตกค้างของยาในน้ำนมจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคและ อุตสาหกรรมการผลิตนมเปรี้ยวและเนยแข็งดังนั้นการตรวจสอบยาตกค้างในนมและ ผลิตภัณฑ์นม โดยเฉพาะการใช้หลอดทดสอบที่ง่ายและให้ผลรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อควบคุมคุณภาพนมให้มีความปรอดภัยต่อผู้บริโภค
-ประโยชน์ของชุดทดสอบ    ใช้ในการตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในนมและผลิตภัณฑ์นม ให้ผลรวดเร็วและสะดวกในการใช้และมีความถูกต้องสูง ไม้ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ในการตรวจวิเคราะห์ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม ความปรอดภัยในการดื่มนม แก่ผู้บริโภค
-จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุดชุดตรวจ ชนิด ตรวจได้ 50 ตัวอย่าง อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต 3 เดือน
-ความไวของชุดทดสอบ     ชุดทดสอบนี้มีความถูกต้อง 91.7% ความไว 100% และความจำเพาะ 90.5% และสามารถ ตรวจสอบยาปฏิชีวนะได้อย่างน้อย 12 ชนิด ได้แก่ เพนนิซิลิน แอมพิซิลิน อะม็อกซีซิลิน ไรแฟมพิซิน เตตร้าซัยคลิน อ็อกซี่เตตร้าซัยคลิน คลอเตตร้าซัยคลิน บาซิตราซิน อีริโธรมัยซิน ไทโลซิน กานามัยซิน และ ซัลฟาไดเมทท็อกซิน อุปกรณ์ชุดทดสอบ
    ชุดทดสอบ 1 ชุด ประกอบด้วย
         1. หลอดทดสอบสำเร็จรูป 50 หลอด
         2. หลอดหยด 10 หลอดอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการตรวจ : อ่างน้ำร้อนควบคุมอุณหภูมิ 64+200ºC และ 82+200ºC

การเก็บและเตรียมตัวอย่างนม

    - นมดิบ : สุ่มตัวอย่างน้ำนมดิบแต่ละตัวอย่างที่ผสมเข้ากัน จากรถบรรทุก ถังส่งนมหรือน้ำนมรวมก่อน
                  ก่อนการผลิต นำมาทดสอบทันที ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้เก็บรักษาในอุณหภูมิแช่แข็ง ไม่เกิน
                  7 วัน และก่อนนำมาวิเคราะห์ ให้ความร้อนในอ่างน้ำร้อนที่ที่อุณหภูมิ 82+200ºC เป็นเวลา 2 นาที
                  เพื่อทำลายเชื้อซึ่งไม่ทนความร้อนที่ปนเปื้อนในตัวอย่าง และทำลายสารยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย                  ซึ่งเกิดตามธรรมชาติและไม่ทนความร้อน

    - นมพาสเจอร์ไรส์หรือผลิตภัณฑ์นม ที่เป็นของเหลว : นำมาวิเคราะห์ได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ความร้อน
                  ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ให้เก็บรักษาในอุณหภูมิแช่แข็ง ไม่เกิน 7 วัน

    - นมผงและผลิตภัณฑ์นม : ให้ละลายด้วยน้ำกลั่นที่ปราศจากเชื้อในอัตราส่วน 1 : 3 (น้ำหนักต่อปริมาตร)
                  แล้วนำมาตรวจสอบได้เช่นเดียวกับนมดิบ

วิธีการตรวจสอบ
แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้

ก. การตรวจพบ - ไม่พบยาตกค้าง
    1. หยดตัวอย่างนม 3 หยด ( ~ 0.1 มิลลิลิตร ) ลงในหลอดทดสอบ
    2. เตรียมหลอดทดสอบควบคุมที่ให้ผลลบ (Negative comtrol) ซึ้งควรทำทุกการตรวจสอบ โดยหยดนมจืด
        ยู เอส ที 3 หยด ลงในหลอดทดสอบอีกหลอดหนึ่ง
    3. บ่มหลอดทดสอบในอ่างน้ำร้อนที่ 64+200ºC (อาหารเลื้องเชื้ออยู่ใต้ระดับน้ำ) จนกระทั้งหลอดควบคุม
        เปลี่ยนสีจากม่วงเป็นเหลืองทั้งหลอด ( 2 ชั่วโมง 45 นาที ถึง 3 ชั่วโมง) จึงอ่านการเปลี่ยนสีของหลอด
        ตัวอย่าง และวัดระดับความสูงของแถบสีม่วง (มิลลิเมตร) ซึ่งอาจนำไปใช้เทียบหาปริมาณยากลุ่ม
        เพนนิซิลิน ต่อไปในข้อ ค.

ข. การตรวจยืนยันผลว่าเป็นยาตกค้างกลุ่มเพนนิซิลิน
        ตัวอย่างนมที่ตรวจพบยาตกค้าง (จากข้อ ก.) 2 - 3 มิลลิลิตร เติมเอนไซม์ เพนนิซิลินเนส ~ 0.05         มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน หยดส่วนผสม 3 หยด ลงในหลอดทดสอบอีกหลอดหนึ่ง แล้วทำเช่นเดียวกับ
        ข้อ ก.2 และ ก.3
                                               
ค. การตรวจหาปริมาณยาตกค้างกลุ่มเพนนิซิลิน
        เมื่อตรวจยืนยันว่าเป็นยาตกค้าง กลุ่มเพนนิซิลิน (เบต้าแลกเตม) แล้วสามารถหาปริมาณยาตกค้างได้
        โดยนำระดับความสูงของแถบสีม่วงที่วัดไว้จาก ข้อ ก.3 ไปเทียบกับแถบสีมาตรฐานสำหรับปริมาณ
        ยาตกค้างกลุ่มเพนนิซิลินในนม ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักสถิติ โดยไม่ต้องเตรียมยามาตรฐาน
        สามารถรายงานปริมาณยาตกค้างกลุ่มเพนิซิลิน ในนมเป็นช่วงๆ ได้ดังนี้ 1- 2, 2 - 4, 4 - 8, 8 - 16,
        ,16 - 32,...........128 - 256 ไมโครกรัม / ลิตร (ppb)

การอ่านและประเมินผล
        สังเกตุการเปลี่ยนสีของหลอดทดสอบและประเมินผลดังนี้

ก.ตรวจพบหรือไม่พบยาตกค้าง
ไม่พบ
พบ
ความสูงของแถบสีม่วงจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณยาตกค้าง

ข.ตรวจยืนยันยากลุ่มเพนนิซิลิน
- ผลการเปลี่ยนสีของหลอดตัวอย่างนมก่อนเติมเพนนิซิลินเนส
พบ
- ผลการเปลี่ยนสีของหลอดตัวอย่างนมหลังเติมเพนนิซิลินเนส (ผลมี 3 กรณี)
พบยากลุ่มเพนนิซิลิน
พบยากลุ่มอื่น
(ระดับความสูงของแถบสีม่วงเท่ากับผลก่อนเติมเพนนิซิลินเนส)
พบยากลุ่มเพนนิซิลิน และกลุ่มอื่น
(ระดับความสูงของแถบสีม่วงลดลงกว่าผลก่อนเติมเพนนิซิลินเนส)

ค.ตรวจหาปริมาณยากลุ่มเพนนิซิลิน
      ปริมาณยากลุ่ม เพนนิซิลิน (เบต้า-แลกเตม) ที่ตรวจพบโดยใช้ชุดทดสอบ ซึ่งขึ้นกับความสูงของแถบ
      สีม่วงที่เกิดขึ้น

ถ้าตัวอย่างที่ให้ผลบวก วัดความสูงของแถบสีม่วงในหลอดทดสอบได้ 3.2 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับระดับ
ความสูงของแถบสีม่วงในแถบสีมาตรฐานสำหรับปริมาณยากลุ่มเพนนิซิลลินที่ได้พัฒนาขึ้นรายงานได้ว่า
พบยากลุ่มเพนนิซิลิน 1-2 ไมโครกรัมต่อลิตร (ppb)

การปฏิบัติเมื่อทดสอบเสร็จแล้ว

       เทน้ำยาฆ่าเชื้อลงในชุดทดสอบให้ท่วมอาหารเลื้องเชื้อ ทิ้งไว้ 30 นาที หรือต้มชุดทดสอบที่เปิดฝาในน้ำ
เดือดนาน 15 นาที แล้วทิ้งหลอด

ข้อควรระวัง
       ชุดทดสอบนี้มีแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นในการตรวจสอบควรระมัดระวังไม่ให้อาหารเลี้ยงเชื้อ
ในชุดทดสอบสัมผัสมือ ถ้ามีการปนเปื้อนให้ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อชุบสำลีทำความสะอาดโดยเร็ว

การเก็บรักษา / อายุการใช้งาน
       เก็บชุดทดสอบที่อุณหภูมิแช่เย็นประมาณ 4 - 8ºC นาน 6 เดือน
หมายเหตุวิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบที่แนบไป
พร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง